ประกาศฟรี

หน้าแรกประกาศ

ประกาศมาใหม่

ลงประกาศสินค้าใหม่ที่นี่
สมัครสมาชิกใหม่
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบสมาชิก
เข้าสู่ระบบสมาชิก

หมวดหมู่ประกาศ / อาหารและสุขภาพ / อาหารและสุขภาพอื่นๆ

นิ้วล็อก กับการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด

11 ต.ค. 2554 13:55:06
แจ้งลบประกาศ

นิ้วล็อก-กับการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด
นิ้วล็อก "Trigger Finger"

มือเป็นอวัยวะสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ในแต่ละวันมนุษย์เราใช้มือประกอบกิจกรรมมากมายจนแทบไม่ได้หยุดหย่อน ความแตกต่างของอาชีพ เพศ และวัย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมการใช้มือนั้นแตกต่างกันออกไป ผู้ที่ใช้มือประกอบกิจกรรมที่ซ้ำๆ และรุนแรง จนเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นกับมือซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดความผิดปกติของมือที่พบได้บ่อยที่สุดที่เรียกว่า โรคนิ้วล็อกหรือ Trigger Finger

อย่างไรก็ตาม โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอายุที่พบบ่อยอยู่ที่ประมาณ 40 - 50 ปี โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น การทำงานบ้านต่างๆ การบิดผ้า การหิ้วของหนัก การใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตัดผ้า การยกของหนักต่างๆ เป็นต้น

ลักษณะนิ้วล็อก มีวิธีการสังเกตเบื้องต้นคือ กำมืองอนิ้วได้ แต่เวลาเหยียดนิ้วออก นิ้วใดนิ้วหนึ่งเกิดเหยียดไม่ออกเหมือนโดนล็อกไว้โรคนี้ไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้

สาเหตุ

เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณโคนนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้น และติดขัดในการเคลื่อนไหวขณะเหยียดนิ้วมือ เมื่ออักเสบรุนแรงมากขึ้นจะเกิดปุ่มตรงเส้นเอ็น เวลางอนิ้วมือปุ่มจะอยู่นอกปลอกหุ้ม แต่ไม่สามารถเคลื่อนเข้าปลอกหุ้ม เวลาเหยียดนิ้วมือกลับไป ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกอยู่ในท่างอ ต้องออกแรงช่วยใน การเหยียด จึงจะสามารถฝืนให้ปุ่มเคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเข้าไปได้

การอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือมักเกิดจากแรงกดหรือเสียดสีของเส้นเอ็นซ้ำซาก หรือใช้งานฝ่ามือมากเกินไป เช่น การใช้มือหยิบจับอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน ทำสวน ขุดดิน เล่นกีฬา เล่นดนตรี เป็นต้น โรคนี้จึงพบบ่อยในกลุ่มแม่บ้าน พนักงานออฟฟิตที่พิมพ์งานบ่อยๆ ผู้ที่ชอบเล่นกีฬา (เช่น กอล์ฟ เทนนิส) หรือเล่นดนตรี (เช่น ไวโอลิน) นอกจากนี้ยังพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ เบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์

อาการ

ระยะแรกมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักหนึ่งก็จะกำมือได้ดีขึ้น บางคนจะสังเกตว่าเวลางอแล้วเหยียดนิ้วมือจะได้ยินเสียงดังกิ๊ก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อกคือ เวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน นิ้วที่เป็นบ่อยได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง และนิ้วนาง อาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ และอาจเป็นที่มือข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ อาการมักจะเป็นมากตอนเช้า

จะรักษาอย่างไรดี ??

หากมีอาการเจ็บตรงโคนนิ้วมือ เวลางอนิ้วมือแล้ว เหยียดนิ้วมีเสียงดังกิ๊ก หรือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้น เองไม่ได้ ควรจะไปพบนักกายภาพบำบัดเพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด ว่าเป็นโรคนิ้วล็อก หรือไม่ ?? ที่ “วิรดาคลินิกกายภาพบำบัด” ซึ่งเราจะให้การรักษาโดยวิธีทางกายภาพบำบัด ไม่มีการใช้ยา ฉีดยา หรือไม่ต้องผ่าตัด

ก่อนจะทำการรักษาจะต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายอาจตรวจพบว่าเมื่อใช้มือกดตรงโคนนิ้วมือ ตรงปุ่มกระดูกจะรู้สึกเจ็บ และบางคนอาจคลำได้ปุ่มเส้นเอ็นที่อักเสบ จากนั้นก็จะทำการรักษาด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด (Physical Therapy) เป็นการรักษาที่ไม่ใช้ยา ฉีดยา(เตียรอยด์) ฝั่งเข็ม หรือผ่าตัด

การรักษานิ้วล็อก โดยวิธีทางกายภาพบำบัด ดังนี้

1. ลดอาการปวด โดยใช้การประคบร้อน หรืออัลตร้าซาวด์ ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน

2. ลดการเกร็งของเอ็นกล้ามเนื้อมือ ใช้การยืดกล้ามเนื้อ

3. ลดการอักเสบของเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น ใช้เทคนิคยืด ดัด ดึงข้อต่อนิ้ว (Joint mobilization) หรือประคบเย็น ขึ้น
อยู่กับอาการของแต่ละคน

4. แนะนำวิธีปฏิบัติตัวและจัดโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับภาวะของแต่ละคน เพื่อช่วยป้องกันโอกาสที่จะเป็นซ้ำอีก

วิธีป้องกัน "โรคนิ้วล็อก"

1. ไม่หิ้วของหนัก เช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ ถ้าจำเป็นต้องหิ้ว ควรใช้ผ้าขนหนูรองและหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ แทนที่จะให้น้ำหนักตกที่ข้อนิ้วมือ หรือใช้วิธีการอุ้มประคองช่วยลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือได้

2. ไม่ควรบิดหรือซักผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมากๆ และไม่ควรบิดผ้าให้แห้งสนิท เพราะจะยึดปลอกหุ้มเอ็นจนคราก และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อก

3. นักกอล์ฟที่ต้องตีแรง ตีไกล ควรใส่ถุงมือ หรือใช้ผ้าสักหลาดหุ้มด้ามจับให้หนาและนุ่มขึ้น เพื่อลดแรงปะทะ และไม่ควรไดร์กอล์ฟต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

4. เวลาทำงานที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่าง ควรระวังการกำหรือบดเครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับให้ใหญ่และนุ่มขึ้น

5. ชาวสวนควรระวังเรื่องการตัดกิ่งไม้ด้วยกรรไกร หรืออื่นๆ ที่ใช้แรงมือควรใส่ถุงมือเพื่อลดการบาดเจ็บของปลอกเอ็นกับเส้นเอ็น และควรใช้สายยางรดน้ำต้นไม้แทนการหิ้วถังน้ำ

6. คนที่ยกของหนักๆ เป็นประจำ เช่นคนส่งน้ำขวด ถังแก๊ส แม่ครัวพ่อครัว ควรหลีกเลี่ยงการยกมือเปล่า ควรมีผ้านุ่มๆ มารองจับขณะยก และใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก

7. หากจำเป็นต้องทำงานที่ต้องใช้มือกำ หยิบ บีบ เครื่องมือเป็นเวลานานๆ ควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น ใช้ผ้าห่อที่จับให้หนานุ่ม เช่น ใช้ผ้าห่อด้ามจับตะหลิวในอาชีพแม่ครัวพ่อครัว

8. งานบางอย่างต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ เช่นทำ 45 นาที ควรจะพักมือสัก 10 นาที

หากคุณมีอาการนิ้วล็อกดังกล่าวมา ควรรีบรับการรักษาที่ วิรดาคลินิกกายภาพบำบัด (Wirada Physical Therapy Clinic) เพื่อให้เราได้ดูแลคุณด้วยการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ถูกต้องและปลอดภัย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-9387376

วิรดาคลินิกกายภาพบำบัด ตั้งอยู่ ถนนลาดพร้าว ด้านหน้าซอยลาดพร้าว 11 ใกล้ห้าง big C extra ลาดพร้าว

e-mail :wirada_ptclinic@hotmail.com

Blog : www.wirada-clinic.exteen.com

Website : www.wiradaptclinic.siam2web.com

เปิดบริการจันทร์ – ศุกร์ 10.00 - 20.00 น.
เสาร์ 10.00 – 17.00 น.

จุดสังเกต : คลินิกตั้งอยู่ใกล้กับ big C extra ลาดพร้าว (คาร์ฟรูลาดพร้าวเก่า)
การเดินทาง 1.ใกล้รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ลงสถานีลาดพร้าว ใช้ประตู 3
2.รถประจำทาง สาย 8, 44, 92, 96, 122, 145 ปอ. 8, 44, 92, 145, 517, 528, 545 ฯลฯ
ให้ลงป้าย BIG C EXTRA

รายละเอียดของสินค้า

ต้องการ :ประกาศ
วิธีจัดส่งสินค้า :วิธีอื่น
ราคา : ไม่ระบุ

ติดต่อผู้ประกาศ

ที่อยู่
681/22 ลาดพร้าว 11 ใกล้บิ๊กซีเอ็กตร้า จ.กรุงเทพมหานคร
ติดต่อคุณ : PT
สมาชิก/บุคคลทั่วไป : บุคคลทั่วไป
เบอร์โทรศัพท์: 029387376
อีเมลล์ :
เว็บไซต์ : www.wirada-clinic.exteen.com


ประกาศที่เกี่ยวข้อง ประกาศที่เกี่ยวข้อง หรือประกาศที่ใกล้เคียง