ประกาศฟรี

หน้าแรกประกาศ

ประกาศมาใหม่

ลงประกาศสินค้าใหม่ที่นี่
สมัครสมาชิกใหม่
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบสมาชิก
เข้าสู่ระบบสมาชิก

หมวดหมู่ประกาศ / อาหารและสุขภาพ / อาหารและสุขภาพอื่นๆ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

23 มี.ค. 2560 10:41:15
แจ้งลบประกาศ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ” กำลังกลายเป็นภัยเงียบคุกคาม พนักงานออฟฟิศ สัญญาณร้ายที่ต้องรีบรักษาด่วน !!!

หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน หรืออาจถึงขั้นพิการได้ เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ หรือการก้มตัวเพื่อยกของหนัก หรือการเล่นกีฬาที่ผิดท่าหรือรุนแรง ก่อให้เกิดอาการปวดคอ หรือปวดหลังเรื้อรัง ปวดร้าวชาลงแขน หรือขา กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณร้ายของภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท บางคนอาจจะมีคำถามต่าง ๆ ดังนี้


- จะเป็นอัมพาตหรือเปล่า ?

- แก่ตัวไปจะลำบากช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือเปล่า ?
ฯลฯ


หลังของเราประกอบไปด้วย กระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง และเส้นประสาท กระดูกสันหลังของคนเราประกอบขึ้นเป็นปล้อง ๆ แต่ละปล้องจะยึดต่อกันโดยหมอนรองกระดูก


ก่อนอื่นมารู้จักหมอนรองกระดูกกัน กล่าวคืออวัยวะที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก (Intervertebral dise) มีลักษณะรูปร่างเป็นวงกลม มีขอบเป็นพังผืดเหนียว แข็งแรง ประกอบด้วยเส้นใยประสานกัน เหมือนกับเส้นใยเหล็กหรือผ้าใบคล้ายยางรถ เรียกว่า แอนนูลัส ไฟโบซัส (Anular fibrosus) ส่วนภายในมีของเหลวคล้ายเจลบรรจุอยู่ เรียกว่า นิวเคลียส พัลโพซสุส (Nucleus polposus) หมอนรองกระดูกนี้คั่นกลางอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ตั้งแต่คอจนถึงก้นกบ ซึ่งในปกติมีทั้งหมด 23 ชิ้น ทำหน้าที่รองรับและกระจายน้ำหนัก และลดแรงกระแทก เปรียบได้กับ “โช้กอัพ” ให้กระดูกสันหลังของเรา และคอยปกป้องไขสันหลังและเส้นประสาท


นอกจากนี้ยังช่วยให้กระดูกสันหลังของเราไม่ยึดติดกันจนแน่นเกินไป สามารถทำให้หลังเคลื่อนไหวในทิศทางต่าง ๆ ได้ เช่น ก้มตัวหรือแอ่นตัว เป็นต้น ด้านหลังของหมอนรองกระดูกจะเป็นที่อยู่ของไขสันหลัง และด้านหลังออกมาด้านข้างเล็กน้อยก็จะเป็นทางออกของเส้นประสาทที่จะมาเลี้ยงแขน (ถ้าเป็นตำแหน่งของคอ) และเลี้ยงขา (ถ้าเป็นตำแหน่งของเอว)


สาเหตุหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดได้ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ซึ่งปัจจัยภายใน จะเป็นสาเหตุที่ตัวหมอนรองกระดูกผิดปกติเอง ที่มีการทำงานผิดปกติ มีความเสื่อมของหมอนรองกระดูก และมีความบางของหมอนรองกระดูกผิดปกติ ส่วนปัจจัยภายนอกจะเป็นเรื่องของการดำรงชีวิตของแต่ละคน ที่ใช้หลังผิดท่าทาง เช่น

- การยกของหนัก
- การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
- การไอหรือจามแรง ๆ
- การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ต้องออกแรงผ่านหลังมาก ๆ เช่น การเล่นเทนนิส การตีกอล์ฟ เป็นต้น
- อิริยาบถและท่าทางที่ไม่เหมาะสม(Poor posture)


หากทำพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเวลานาน ๆ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลอกหมอนรองกระดูกฉีกขาด ทำให้เยลลี่เคลื่อนออกมากดเส้นประสาท ซึ่งพบได้บ่อยที่ช่วงคอ (Cervical 1-7) และเอว (Lumbar 1-5) คนจึงมักจะปวดคอ หรือปวดร้าวลงแขน และปวดหลัง หรือปวดร้าวขาโดยไม่รู้ตัว เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณร้ายของภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท



อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


กรณีระดับคอ จะมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือปวดคอร้าวลงแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หรืออาจจะมีอาการชาแขน หรือมือและแขนไม่มีแรง

กรณีระดับเอว อาการปวดหลัง หรือปวดร้าวลงขา หรือปวดสะโพกร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หรือบางรายอาจจะมีอาการแตกต่างออกไป เช่น ไม่มีอาการปวดหลัง แต่มีอาการตึงขาแทนหรือเมื่อยขา หรืออาการแสบบริเวณหลัง เอว หรือขา เท้า อาจจะมีอาการข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 ข้าง อาการเด่นของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นอยู่ว่าหมอนรองกระดูกเคลื่อนมากดเส้นประสาทมากน้อยเป็นสำคัญ ถ้าทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาเหมือนเข็มทิ่ม หรือมดไต่ และอ่อนแรงหรือไม่มีแรงของขาข้างนั้นจะเริ่มเด่นชัดขึ้น อาการทั้งหมดจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป หากเป็นมาก อาจสังเกตเห็นขาข้างที่มีปัญหาจะมีกล้ามเนื้อลีบ ซึ่งปล่อยไว้อาจจะเดินได้ไม่ปกติ

จะรักษาอย่างไรดี ??

หากเกิดอาการหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ควรพบนักกายภาพบำบัดได้ที่ “วิรดาคลินิกกายภาพบำบัด” ซึ่งเราจะให้การรักษาโดยวิธีทางกายภาพบำบัด ไม่มีการใช้ยา ฉีดยา หรือไม่ต้องผ่าตัด

ก่อนจะทำการรักษาจะต้องมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าอาการดังกล่าวเกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจากปวดหลัง ปวดร้าวลงขา อาจจะมาจากสาเหตุอื่นได้ เช่น

1. Piriformis Syndrome กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรัง จนบีบเส้นประสาท
2. Myofascial Pain Syndrome (MFPS) กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง เช่น กล้ามเนื้อหลัง
3. Sacoiliac Joint Dysfunction ข้อต่อกระดูกเชิงกรานผิดปกติ

การรักษาหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท โดยวิธีทางกายภาพบำบัดดังนี้...

1. ลดอาการปวดและเกร็งกล้ามเนื้อ โดยใช้ประคบร้อน หรืออัลตราซาวด์ จะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย ร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อ
2. ลดการอักเสบของเส้นประสาท ใช้เทคนิคการยืด ดัด ขยับเส้นประสาท (Nerve Mobilization)
3. ลดการกดทับเส้นประสาท ดัดข้อต่อกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูก (PAIVM or disc Mobilization) เพื่อให้ขยับหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมา
4. ลดอาการอักเสบของหมอนรองกระดูก อาจใช้ประคบเย็น หรืออัลตราซาวด์ วิธีการขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
5. แนะนำวิธีปฏิบัติตนและท่าออกกำลังกายที่ถูกวิธีในภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และหลังจากการรักษา เพื่อป้องกันโอกาสที่จะเป็นซ้ำอีก

การป้องกันหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

วิธีป้องกันอันดับแรก คือ การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องอย่างสม่ำเสมอ

ประการที่ 2 ลดการใช้งานของกล้ามเนื้อหลังลง โดยการปรับท่านั่งให้หลังตรง หรือเดินตัวตรง

ประการที่ 3 การปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้เหมาะสม อาทิเช่น อย่านั่งนานเกินไป ควรลุกขึ้นยืน ทุก ๆ 1 ชั่วโมง หรือเวลายกของไม่ควรก้ม ควรย่อเข่าแล้วยกของ และถือของชิดตัว เป็นต้น

หากคุณมีอาการหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทดังกล่าวมา ควรรีบรับการรักษาที่ วิรดาคลินิกกายภาพบำบัด (Wirada Physical Therapy Clinic) เพื่อให้เราได้ดูแลคุณด้วยการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ถูกต้องและปลอดภัย



ที่มา : http://wirada-clinic.exteen.com/20110514/entry

กรุณานัดล่วงหน้า โทร. 02-9387376

เปิดบริการ จันทร์ – พฤหัสฯ 10.00 - 20.00 น.

ศุกร์ – เสาร์ 10.00 - 17.00 น.


วิรดาคลินิกกายภาพบำบัด ตั้งอยู่ ถนนลาดพร้าว ด้านหน้าซอยลาดพร้าว 11 ใกล้ห้าง big C extra ลาดพร้าว


e-mail :wirada_ptclinic@hotmail.com

Blog : http://wirada-clinic.exteen.com

Website: http://wiradaptclinic.siam2 web.com

รูปภาพเพิ่มเติม


รายละเอียดของสินค้า

ต้องการ :ประกาศ
สภาพสินค้า :ของใหม่
วิธีจัดส่งสินค้า :วิธีอื่น
ราคา : ไม่ระบุราคา

ติดต่อผู้ประกาศ

ที่อยู่
ลาดพร้าว 11 ใกล้บิ๊กซีเอ็กตร้า และ MRT ลาดพร้าว เขตจตุจักร จ.กรุงเทพมหานคร 10900
ติดต่อคุณ : ทัน
สมาชิก/บุคคลทั่วไป : สมาชิกเว็บไซต์
เบอร์โทรศัพท์: 029387376
อีเมลล์ : wirada_ptclinic@hotmail.com
เว็บไซต์ : wirada-clinic.exteen.com/20110514/entry


ประกาศที่เกี่ยวข้อง ประกาศที่เกี่ยวข้อง หรือประกาศที่ใกล้เคียง