ประกาศฟรี

หน้าแรกประกาศ

ประกาศมาใหม่

ลงประกาศสินค้าใหม่ที่นี่
สมัครสมาชิกใหม่
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบสมาชิก
เข้าสู่ระบบสมาชิก

หมวดหมู่ประกาศ / หนังสือและเครื่องเขียน / เอกสารวิชาการ

เชิดชูครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2558

1 ก.ค. 2558 16:40:54
แจ้งลบประกาศ

เชิดชูครูช่างศิลปหัตถกรรม-ปี-2558
เชิดชูครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2558
ครูช่างผู้สืบทอด และ อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย


เชิดชูครูช่าง นี้เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่า... ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป.

ได้เล็งเห็นความสำคัญในการคัดสรรช่างระดับยอดฝีมือที่มีทักษะ มีผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ภูมิปัญญาในระดับยอดเยี่ยม เพื่อนำมาจัดแสดงผลงาน จัดกิจกรรม ฝึกอบรม เพื่อเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยไปยังตลาดในประเทศและต่างประเทศ....
รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์ เชิดชูบรรดาครูช่าง ผู้สืบทอดงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีคุณค่าของไทย อันผลิตจากการใช้ฝีมือทางการช่างที่ต้องมีทักษะและความชำนาญอย่างสูง เพื่อเป็นการยกย่องพร้อมทั้งส่งเสริมงานหัตถกรรม สืบสานและเชิดชูเกียรติให้เป็นที่ภาคภูมิใจให้แก่คนรุ่นหลังต่อไป
ผู้ที่ได้รับคัดเลือก 20 ท่าน มีดังนี้


1.นางเกษร บานชล : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “การทอเสื่อกกลายขิด”อายุ 55ปี จังหวัด ยโสธร

Mrs. Kaysorn Banchol :Craft Master of Weaving Reed Mat 55 years – Yasothorn Province
ได้พัฒนาการทอเสื่อกก โดยนำเอาลวดลายจากผ้าขิด มาผนวกเข้ากับการทอเสื่อกกได้ผลิตภัณฑ์ เสื่อกกลายขิดที่มีความสวยงาม มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร
She developed her reed weaving mat by applying patterns of Khit fabric on her work. Her mats are; therefore, uniquely beautiful.




2. นางแก้ว ตาสิงห์ : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท เครื่องจักสาน (ใบตาล) อายุ 94ปี จังหวัด ลำปาง

Mrs. Kaew Tasingha : Craft Master of Sugar Palm Leave Weaving Products 94 years – Lampang Province
ได้จัดทำผลิตภัณฑ์จากใบตาลที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เป็นวัสดุจากธรรมชาติ พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเดิมที่จะสานเป็นกระเป๋า ตะกร้า แบบธรรมดาๆ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่มากขึ้น เช่นโคมไฟลูกทุเรียน
She has created products from sugar palm leaves, which are natural materials available in community. She has developed designs from such traditional products as bags, and baskets to “Durian” shape lamp, for example.




3.นายจงจรูญ มะโนคำ : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท เครื่องทอ (ผ้าไหม) อายุ 45 ปี จังหวัด อุตรดิตถ์

Mr.JongJaroon Manokum : Craft Master of Silk Making 45 years – Uttraradit Province
ลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกลับแล ช่างทอไม่ได้ทอเพื่อความงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังคงแฝงไว้ด้วยคติความเชื่อในลวดลายนั้นๆ เช่น ลายนกคุ้ม คือการอยู่คุ้มเหย้าคุ้มเรือน บังเกิดสิริมงคลในชีวิตคู่ ในการครองรัก
Tin Jok Sin” from Lablae District is not only beautiful, but each pattern also implies belief. Nok Kum, for example – it implies the protection of home and family, luck and goodness to couple lives.




4.นายจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์ : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “ด้านการลงรักประดับมุก” อายุ 50 ปี จังหวัด นครปฐม

Mr.Jakkrit Suksawasdi: Craft Master of Lacquer work decorated with mother of pearl. 50 years – Nakhorn Phatom Province
สร้างสรรค์และสืบสานอนุรักษ์งานประณีตศิลป์ชั้นสูง มีความสามารถด้านการเขียนลายต้นแบบเพื่อใช้ในงานประดับมุกมีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการประดับมุก(เปลือกหอยมุก) บนชิ้นงานหลายรูปแบบ ภาชนะใช้งานในราชสำนัก และสิ่งของเครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา เช่น โต๊ะ ตู้ อาสนะ ตะลุ่ม พานแว่นฟ้า พาน บานประตู หน้าต่าง(ประดับมุก)
He’s a creator and has conserved high delicate arts. He’s also skillful in drawing original designs for lacquer work decorated with mother of pearl. His work pieces appeared as Royal table ware and pieces in religious usage, furniture, and architectural decorative items: tables, sideboard, tray (with pedestal, door, windows, for example.




5.นางจุไรรัตน์ สรรพสุข : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท เครื่องจักสาน(ต้นกก) อายุ 62 ปี จังหวัด จันทบุรี

Mrs. Jurairat Suppasuk: Craft Master of Reed Weaving Products 62 years – Chantaburi Province
ได้ทำลวดลายแบบต่างๆมากมาย ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นของเราเองโดยปลูกปอไว้เป็นเส้นยืนและปลูกกก โดยมีขึ้นตอนการผลิตประมาณ40ขั้นตอน กว่าจะมาเป็นเสื่อจันทบูรณ์อันสวยงาม
I’ve created numerous designs and patterns. Most of used materials: Jute and Reed are locally grown. There are approximately 40 steps in production process to get finished beautiful Chantaboon mats.




6.นายเจน นวลสุภา : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “การแกะสลักไม้ 3 มิติ” อายุ 68ปี จังหวัด เชียงใหม่

Mr.Jane Nuansupa :Craft Master of 3 Dimension Wood Carving 68 years – Chiang Mai Province
“เริ่มต้นฝึกฝนเองตั้งแต่เยาว์อายุ17-18ปี และยึดอาชีพช่างไม้แกะสลักมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 40 ปี โดยเป็นช่างคนแรกที่ลงมือแกะสลักไม้ที่ปราสาทสัจธรรม เมืองพัทยา โดยทำงานอยู่ที่นั่นนานกว่า 7 ปี...”“...การออกแบบไม้แกะสลัก 3 มิติจะมาความประทับใจในภาพวาดฝาผนังตามวัดต่างๆ ที่ได้ไปพบเจอ เสริมด้วยจินตนาการส่วนตัว โดยมากจะเน้นเกี่ยวกับพุทธศาสนา ลายไทย และวรรณคดี โดยเฉพาะรามเกียรติ์ แต่ละชิ้นใช้เวลาทำค่อนข้างนาน ชิ้นใหญ่ที่สุดที่เคยทำใช้เวลานับปี มูลค่ากว่า 6 แสนบาท”
“Start practicing since 17-18 years old, I’ve had it as a career for over 40 years from then. I was the first one who carved Satjatham Wood Castle, Pattaya. It took me over 7 years for that work.”“….designing 3 dimension wood carving came from my impression with temples’ wall paintings, which mostly are old myth and Ramayana, combining with imaginations. Each work took a long time. The biggest one has valued of over Baht 600,000, which took me years to be finished.”




7.นายทวี พันธ์ศรี : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “การเขียนลายเครื่องเบญจรงค์”อายุ 48ปี จังหวัด สมุทรสาคร

Mr.Tawee Pansri : Craft Master of Benjarong Painting 48 years – Samut Sakhorn
“...จบจากโรงเรียนด้านศิลปะ และได้รับจ้างเขียนลายอยู่ 5 ปีตั้งแต่ปี2527 และต่อมาได้พัฒนา เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ จนสามารถมาเปิดเป็นธุรกิจของตัวเองโดยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายร้านทวีเบญจรงค์จนถึงปัจจุบันเมื่อก่อนเบญจรงค์จะทำแต่เป็นถ้วยชาม โถต่างๆ เราได้พัฒนานำมาทำเป็นกระเบื้อง ซึ่งเป็นการฉีกแนวจากเบญจรงค์เจ้าอื่นๆและได้นำเอาลายไทย ลายไทยประยุกต์ ลายประเพณีไทย มาออกแบบลงในงาน เบญจรงค์”
“Graduated from arts school, I’ve been employed as a benjarong painter for 5 years since 1984. Being more experienced, I later opened my own business, Tawee Benjarong till today. Benjarong work in the past were made as bowls. I later initiated idea to apply painting work on porcelain tiles to differentiate our work from other Benjarong by applying Thai designs and contemporary Thai, traditions, for example.”




8.นายธงชัย สายแสงจันทร์ : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “เรือฉลอมจิ๋วจำลอง” อายุ 58ปี จังหวัด สมุทรสาคร

Mr.Thongchai Saisaengjan : Craft Master of “Chalom Miniature Boat” 58 years – Samut Sakhon Province
“เรือฉลอมจิ๋วเป็นเรือไทยพื้นบ้านจำลองที่ได้ย่อมาตราส่วนถูกต้อง วิธีทำ ขั้นตอนจำลองแบบต่อเรือขนาดเท่าของจริง มีประวัติความเป็นมาของเรือ มีแบบ ด้านแปลน ด้านข้าง ด้านรูปตัดของเรือ อนุรักษ์เรือไทยชายฝั่งในรูปแบบจำลองสามารถนำรูปภาพเรือเก่าๆในอดีตและภาพเรือที่เรารักมาสั่งทำเรือจำลองได้ มีตู้ที่ใส่เรือที่ไม่เหมือนใครสวยงาม ตู้ใส่เรือจำลองได้จดสิทธิบัตรไว้เรียบร้อยแล้ว สนใจ ตั้งเป้าหมายเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนเกี่ยวกับเรือไทยชายฝั่งและเรือของทวีปเอเชียทั้งในอดีตและปัจจุบัน”
“Chalom” miniature boat is a Thai folk boat. It has the same production process as the real Chlaom boat according to its historical records; only being scaled down. We can also create miniature ones from our beloved boats, and put them in distinctive displays, which were patent registered. I’ve had high goal to be the centre of community knowledge on sea boats and Asian boats.”




9.นายธนเดช บุญนุ่มผ่อง : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท“เรือฉลอมจิ๋วจำลอง” อายุ 56 ปี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Mr.Thanadech Boonnumpong : Craft Master of Chalom Miniature Boat 56 years – Prachuap Khirikan Province
“...มีเพื่อนนำเรือฉลอมจิ๋วมาให้เลยเกิดแรงบันดาลใจและเริ่มประดิษฐ์เรือ แต่คุณตาผู้ที่เป็นคนเก่าแก่ในการทำเรือนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว เลยต้องเรียนรู้การทำเรือด้วยตนเองทั้งหมด จากการไปถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยได้เห็นและได้สัมผัสกับเรือจริงๆ และได้มีการลองผิดลองถูกจนสามารถประดิษฐ์เรือขึ้นมาได้เอง และใช้วัสดุราคาต่ำ พวกไม้สักจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นเศษไม้เหลือใช้ และโรงงานไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์อะไรแล้ว นำมาใช้เป็นวัสดุในการประกอบเรือ แสดงถึงความเป็นสิริมงคล และจะไม่ใช้ตะปูเป็นส่วนประกอบของเรือ แต่จะใช้ไม้ไผ่เหลาให้ได้ขนาดของตะปูและใช้เป็นตะปูแทน”
“I was inspired by the Chalom miniature boat given by my friend. I learnt to create it since then. Unfortunately the old man who made that one passed away. So I had to learn all process by myself according to the elderly, who experienced with this old boat. I learnt to create it from cheap materials: left-over teak wood. It was the first auspicious boat, which all parts ended with “9”, which represents luck and progress in Thai belief. We did not use any nail to assemble it, but using sharpened bamboo instead.”




10.นายบุญรัตน์ ทิพย์รัตน์ : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “ช่างทำเครื่องดนตรีไทย” อายุ 60ปี จังหวัด เชียงใหม่

Mr.Boonrat Thipparat : Craft Master of Thai Music Instrument Making 60 years – Chiang Mai
“ช่างทำซอสามสายที่มีมาตรฐานตามกระสวนซอสามสายของโบราณ มีประสบการณ์ในการทำซอสามสายมาประมาณ 30 ปีสามารถสร้างกะโหลกซอสามสายให้สามารถกำธรเสียงได้อย่างไพเราะตามมาตรฐานโบราณ สีง่าย มีความงดงามในรูปทรงซึ่งถือเป็นงานประณีตศิลป์ที่เกิดจากพลังความคิดและภูมิปัญญาของพ่อครูบุญรัตน์ นอกจากนั้นยังได้สร้างเครื่องดนตรีไทยประเภทอื่นๆด้วย เช่น บัณเฑาะว์ของพ่อครูบุญรัตน์ คือการกลึงหุ่นบัณเฑาะว์ให้ได้สัดส่วนเหมาะสมกับส่วนประกอบอื่นๆ เน้นให้มีน้ำหนักเบา เพื่อให้สะดวกในการไกวและแกว่ง ส่วนลูกตุ้มทำด้วยงาช้าง และการเลือกใช้หนังแพะที่มีคุณภาพในการขึ้นหน้าบัณเฑาะว์ ทำให้ผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับในแวดวงนักดนตรีไทยและนักวิชาการมาโดยตลอด
He’s an old style three string bamboo fiddle maker. His over 30 year experience and skill in making fiddle make his bamboo fiddles have beautiful ancient standard sound, easy to play, and beautiful shape. These have been inherited from his father. In addition to bamboo fiddle making, he’s also created other Thai music instrument: “Ban Tho” (a small drum used in Brahmin rites), for example. It has proper shape and light weight, which is convenient to be twisted (the drum balls are made of ivory, and surface are made of goat skin). His work pieces have been well admired among Thai musicians for years.




11.นายเบญจพล สิทธิประณีต : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “การตัดฉลุกระดาษ” อายุ 57 ปี จังหวัด เชียงใหม่

Mr.Benjapol Sittipraneet : Craft Master of Paper Cutting 57 years – Chiang Mai Province
“...เห็นงานตัดฉลุกระดาษมาตั้งแต่เด็กๆ จากบ้านของครูสิงห์แก้ว มโนเพชรที่อยู่ใกล้ๆกัน และได้มีโอกาสลองทำงานนั้น หลังจากลาออกจากงานธนาคาร ก็กลับมาเห็นงานกระดาษนี้อีกครั้ง เลยเกิดความคิดว่าอยากจะพัฒนาสานต่องาน และอนุรักษ์งานนี้ไว้ ไม่ให้สูญหายไป พัฒนาการตัดลวดลายจากการพับตัด เป็นการตัดฉลุ เช่น เรื่องราวเฉลิมพระเกียรติ และตัดเรื่องราวบนกรอบรูป บนผืนผ้า”
“I saw paper cutting of Master Singhkaew Manohpetch, who were nearby, and had a chance to do it myself since childhood. After leaving a banker career, I decided to conserve this wisdom heritage. I’ve developed cutting to be different stories Ramayana, and cutting on fabric, for example.”




12.นายเปี่ยม ส่งชื่น ; ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “การตัดกระดาษรังผึ้ง” อายุ 77 ปี จังหวัด พิษณุโลก

Mr.Piam Songsin : Craft Master of Bee-Nest Paper Cutting 77 years – Pitsanulok Province
“...ศึกษาผลงานการตัดกระดาษรังผึ้ง เริ่มจากในวัยเด็กที่วัดธงไทยยาราม บ้านน้ำโจนใต้ จากคนเฒ่าคนแก่ที่ตัดเป็นเส้นนำมาประดับภายในงานวัด ต่อมา พ.ศ. 2520 ได้คิดประดิษฐ์กระดาษรังผึ้งขึ้นใช้ประดับภายในงานต่างๆ ให้สวยงามขึ้น และสามารถนำไปใช้ได้หลายครั้ง โดยการนำมาตัดกันเป็นแผงๆแทนการใช้เส้นอย่างเดียว
“I learnt it since childhood from the elder at Wat Thongchai Yaram, Baan Namjonetai. Paper cutting at that time was only simple lines. They made it decorate the temple. Later in 1977, I created “bee-nest” paper cutting to decorate many events. Our creativity is not only making “nest”, but also colour patterns, which require complicated technique.”




13.นายพิเชษฎร์ แก้ววรรณะ ; ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท เครื่องทอผ้าไหม อายุ 35 ปี จังหวัด ลำพูน

Mr.Pichet Kaewwanna : Craft Master of Silk Making 35 years – Lampoon Province
“เรียนรู้การทอผ้าตั้งแต่อายุ15ปี เรียนรู้เรื่องการทอผ้าต่างๆมาเป็นรุ่นต่อรุ่น จากปู่ย่าตายายมารุ่นคุณพ่อคุณแม่และรุ่นผมต่อมาได้ลองทำย้อมไหม ตั้งไหมเครือ ที่เพ็ญศิริไหมไทย ปัจจุบันทำงานที่ร้านลำพูนไหมไทย เป็นผ้าไหมยกดอกลำพูนที่ทอด้วยกี่มือ เป็นวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกเส้นไหมยืน และพุ่งด้วยเส้นไหมพุ่งจำนวนสามเส้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายจะวิจิตรบรรจงละเอียดมากน้อยขึ้นอยู่กับตะกอเทดอก ยิ่งตะกอเทดอกมากลวดลายก็จะดูเด่นสวยงามวิจิตรบรรจง ขั้นตอนการทอผ้าที่มีความละเอียดอ่อนซับซ้อน ใช้เวลานาน ทำให้ผ้าแต่ละผืนมีความล้ำค่า จึงทำให้เป็นที่นิยมได้ในงานพระราชพิธี งานพิธี งานมงคลต่างๆ”
“Learning silk making since 15 years old, I later tried to dye silk when I worked at Pen Siri Thai Silk. Presently, I’m working at Lampoon Thai Silk shop. My learning was transferred from generations to generations. Lampoon Pattern Silk created from the process of lifting loom to separate silk thread: main standing silk and 3 patterned ones. The delicacy of the patterns depends on the heddle setup. The process of weaving is very complicated. It takes a long time to finish one piece of worthless silk. Lampoon Pattern Silk is normally used in Royal ceremonies and important events.”




14.นายร่อหมาน ขรีดาโอ๊ะ : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “การประดิษฐ์กรงนกและโคมไฟตีเตบาลี” อายุ 65ปี จังหวัด สงขลา

Mr.Rohman Kreeda-o : Craft Master of Wood Bird Cage & “Te-tae” Bali Lamp 65 years - Songkhla Province
“เริ่มทำงานเกี่ยวกับการประดิษฐ์กรงนกมาตั้งแต่ปี2516 โดยสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น รุ่นของเราจะเป็นรุ่นที่8แล้ว เป็นผลิตภัณฑ์กรงนกที่ทำจากไม้ไผ่ มีความคงทนสวยงาม ส่งขายต่างประเทศและสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านที่อยู่อาศัย โดยพัฒนาเป็นโคมไฟตีเตบาลี ที่มีความแปลกตา สวยงามและดูโดดเด่นไม่ซ้ำใคร...”
“I started making bird cage in 1973. It’s family’s inherited knowhow from generations; mine is the 8th. The bird cages are made of bamboo. They’re not only beautiful, but also have long durable usage. We’ve exported them as home decorative items. Later we also developed ideas from them to produce “Te-tae” Bali lamp, which looks magnificent, and distinctive.”




15.นายวินัย ปัจฉิม : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “การทอผ้าพื้นเมือง(ผ้ามัดหมี่)”อายุ 58ปี จังหวัด ลพบุรี

Mr.Winai Patchim : Craft Master of “Mud-Mee” Weaving 58 years – Lopburi Province
เริ่มสนใจเรื่องการทอผ้าพื้นเมืองมาตั้งแต่เข้ารับราชการครูอยู่ที่อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ต่อมาได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งที่อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนไทยอีสาน มีการทอผ้าเป็นอาชีพรองที่มีชื่อเสียง ปี พ.ศ.2545 ได้ส่งผ้ามัดหมี่ลายพระปรางค์สามยอดและวังนารายณ์เข้าประกวด ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดผลิตภัณฑ์ดีเด่นจังหวัดลพบุรี ทำให้วงการผ้าทอของจังหวัดลพบุรี ได้ตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ด้วยลักษณะลายที่ซับซ้อนเหมือนจริงในโครงสร้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการมัดลายด้ายหัวหมี่จำนวน 115 ลำ ซึ่งยังไม่มีช่างทอในแถบภาคกลางเคยทำมาก่อน และด้วยหน้าที่ความเป็นครูจึงได้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการทอผ้าพื้นเมืองบรรจุไว้ในสถานศึกษาอีกด้วย ต่อมาหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนอนุบาลโคกเจริญได้ถูกนำไปเป็นต้นแบบในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี
“I had interest in weaving folk fabric when I still worked as a teacher at Kood-bak District, Sakolnakorn Province. Later, I was relocated to Kok-jaroen District in Lopbuiri Province, where most people were E-San Ethnic group originated. They had second source of income from fabric making. In 2002, I sent “Mud-Mee” made in stupa and Narai Palace design pattern for a contest. It was awarded as The Best Lopburi Province’s Outstanding Product Winner. From that, it encouraged Lopburi’s fabric making again with more complicated weaving structure and patterns; especially the 115 Mud-Mee thread techniques, which was rarely found in the central region of the country. As a teacher by profession, I locally designed a fabric weaving curriculum for schools. Later, this was taken by Kok Jaroen Kindergarten School to be the prototype of Lopburi’s local curriculum.”




16.นายสงคราม งามยิ่ง : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท เครื่องทอผ้าไหม อายุ 64 ปี จังหวัด ขอนแก่น

Mr. Songkram Ngam-ying : Craft Master of Silk Making 64 years – Khon Kaen Province
ผ้าไหมมัดหมี่คุณภาพสูง มีลวดลายที่สวยงาม ทอมือ และโดดเด่นในการให้สีสันแก่ผ้าไหม ตัวอย่างงานผ้าไหมมัดหมี่ ลวดลายตราสัญลักษณ์ของงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำขึ้นด้วยความรักที่มีต่อพระองค์ โดยการทอผ้าดังกล่าว ได้ใช้เวลาในการทอเป็นเวลา 1 ปี เต็ม ทอได้ผ้าจำนวนทั้งสิ้น 4 ผืน ขนาดกว้าง 40 นิ้ว ยาว 60 นิ้ว ซึ่งลงมือทอด้วยตัวเองทั้งหมด ได้พัฒนาลวดลายมากมาย และเป็นที่รู้จักในวงการผ้าไหมมัดหมี่จากการทำลวดลาย 25ลำ 39ลำ 49ลำ และเพิ่มเป็นการทำลายแบบละเอียดยิ่งขึ้นเป็น73ลำ 81ลำ 85ลำ
“Mud-Mee” Silk has high quality; it’s hand-woven, and beautifully colourful. An example of the famous Mud-Mee Silk is the one designed in “60 Diamond Jubilee” of His Majesty symbol. It was made from the “love” that people have for him. It took 1 year to complete; to get all 4 pieces of 40 inches X 60 inches. In addition to that, the renowned development of Mud-Mee silk is 25, 39, and 49 stem patterns, and later increased to be more delicate to 73, 81, and 85 orderly.




17.นายสนั่น บัวคลี่ ; ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “เครื่องดนตรีไทยประเภทกลอง” อายุ 68ปี จังหวัด อ่างทอง

Mr.Sa-nan Bua-klee : Craft Master of Thai Musical Instrument – “Drum” 68 years - Ang-thong Province
“เริ่มทำกลองตั้งแต่อายุ 24ปี รวมถึงปัจจุบันได้รับทำกลองทุกชนิด เป็นเวลากว่า44ปี ทำการผลิตกลองหลากหลาย เช่น กลองตะโพนมอญ กลองเปิงบางคอก กลองตะโพนไทย กลองแขก กลองทัด กลองสองหน้า กลองโทนราตรี กลองตุ๊ก ส่วนใหญ่เป็นกลองที่ได้รับการยอมรับของวงดนตรีปี่พาทย์ และเป็นที่ยอมรับของวิทยาลัยนาฏศิลป์ต่างๆ”
“Start making drum when I was 24 years old, till now more than 44 years I’ve made all types. I have made variety of drums such as “Mon Ta-pone”, “Bangkok Perng”, “Thai Ta-pone”, “Kaek”, “Taad”, Two-sided, “Tone Ratree”, and “Tuk”. Most of them have been well admired among classical Thai orchestra, and among dramatic arts schools.”




18.นายสมศรี ไม้ทองดี : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “เชือกถักเปล” อายุ 60ปี จังหวัด นครสวรรค์

Mr.Somsri Maithongdee : Craft Master of Braided Rope Cradle 60 years – Nakhon Sawan Province
“มีประสบการณ์ในด้านถักทอ30ปีจุดเริ่มต้นมาจากเราทำเปลใช้เองภายในครอบครัวกันมานานแล้ว แต่เมื่อมีคนมาพบเปลของเรา ก็เกิดความชื่นชอบ เพราะเป็นเปลที่เขาเคยใช้ในอดีต และปัจจุบันหาซื้อได้ยากมาก จึงได้มาว่าจ้างให้ตนเองทำให้ และครอบครัวของเราก็ทำขายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา”
“I’ve had over 30 years experience. Starting from making cradle for family, I later received orders from the people who were fond of my work because they’re rarely found nowadays.”




19.นายสำหรับ งานไว : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท “เครื่องทอผ้าไหม” อายุ 62ปี จังหวัด มุกดาหาร

Mr.Samrap Ngarn-wai : Craft Master of Silk Weaving62 years – Mookdaharn Province
“...เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งรวบรวมสตรีในหมู่บ้าน รวมกลุ่มกันจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านภู เมื่อปี2530 ตลอดระยะเวลาในการทอผ้านั้น ได้เรียนรู้การทอลายโบราณ และได้มีการร่วมกันคิดค้นลายทอผ้าใหม่ๆขึ้นมา เพื่อเป็นการสร้างสรรค์งานแบบใหม่ ให้กับท้องตลาด เพื่อให้มีกลุ่มลูกค้าเป็นคนรุ่นใหม่ๆให้มากขึ้น โดยที่มีการผสมผสานงานแบบดั้งเดิมและแบบที่ทันสมัยเข้าด้วยกัน โดยไม่ละทิ้งลายทอผ้าแบบโบราณ”
“He was the founder of “Baan Pu” Silk Weaving Women Community Enterprise in 1987. Throughout the period till now, he and his women group have learnt ancient patterns making, as well as invented new patterns with the techniques of the well blend of old traditional with new patterns to serve market’s needs. These have made the increasing number of new generation buyers. Their work in fact has kept ancient designs and pattern.”




20.นายสุระมนตรี ศรีสมบูรณ์ : ครูช่างศิลปหัตถกรรมประเภท เครื่องทอผ้าไหม อายุ 56 ปี จังหวัด ขอนแก่น

Mr.Suramontri Sirsomboon : Craft Master of Silk Weaving56 years – Khon Kaen Province
“...ใช้ประสบการณ์ของตัวเองที่เคยได้เห็นและสัมผัสจากบรรพบุรุษ ตั้งแต่ปี2524 ได้ฝึกฝนและเรียนรู้การทอผ้าไหมด้วยตนเอง จนเกิดความชำนาญ และนำผลิตภัณฑ์เข้าร่วมประกวดและได้รับรางวัลในระดับประเทศ ...” “ ทำผ้าไหมเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การมัด การเลือกสี การย้อม การทอ และเอาความใส่ใจใส่ลงไปในทุกๆเส้นใยของผ้า จนมีชื่อเสียงและได้รับรางวัลจาก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก และเป็นคนไทยคนเดียวที่ได้รับรางวัลในฐานะผู้ผลิตมัดหมี่ที่ดีที่สุดในโลก ”
He learnt weaving silk in 1981 by himself, and trained himself till being skillful. He applied knowledge from observing the older into his work. His works were also won national awards. He’s also the first and only Thai person awarded as “The Best Mud-Mee Maker in the World” by United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization, UNESCO. “Making silk every single process by myself; from bundling, colour design, dyeing, weaving, I put my heart into every silk thread.”



รายละเอียดของสินค้า

ต้องการ :ประกาศ
ราคา : ไม่ระบุราคา

ติดต่อผู้ประกาศ

ที่อยู่
105/439 ซอยนวมินทร์ 57 ถนนนวมินทร์ แขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม จ.กรุงเทพมหานคร 10240
ติดต่อคุณ : brandmarkt
สมาชิก/บุคคลทั่วไป : สมาชิกเว็บไซต์
เบอร์โทรศัพท์: 027367440
อีเมลล์ : chatchay@brandmarkt.com
เว็บไซต์ : http://www.faitorjai.com


ประกาศที่เกี่ยวข้อง ประกาศที่เกี่ยวข้อง หรือประกาศที่ใกล้เคียง